Test integration
จากบทความที่ผ่านมาทั้งหมดสุดท้ายต้องมาจบที่การ Test เนอะหลังจากเรา Implement เสร็จแล้วก็ควร Test ได้ แต่มันเป็นเรื่องเงินๆ ทองๆ นี้สิ เพราะเป็นการซื้อของเนอะ แต่ไม่ต้องห่วง Google เตรียมไวแล้ว
เตรียมเพื่อ Test
ในการ Test นั้นเราต้องระบุ email ที่จะ Test เข้าไปใน App เราที่ Google Play Console ครับ โดยเข้าไป add email 2 จุดด้วยกัน
License testing
เพิ่ม Email สำหรับ QA ของเราที่จะทำการ Test เพื่อให้ไม่ต้องเสียเงินจริงๆ ที่เมนู License testing เข้าไปแล้วก็พิมพ์ Email ลงไปได้เลยแล้ว Enter ตรง dropdown ก็ให้เลือกเป็น LICENSED

Internal Testing
เพิ่ม Email เข้าไปที่ระดับ App เราครับให้ Email ไหนสามารถ Testing ได้บาง ถ้ายังไม่เคยทำมาก่อนเลยจะต้องมี 2 Step ก็คือเข้าไปที่เมนู Internal testing ก่อน คลิก Tab Testers จากนั้น Create email list

ระบุ List name ว่าคือการ Test เรื่องอะไรเช่น In-app purchase feature อะไรแบบนี้ จากนั้นก็ระบุ Email ของ QA ลงไปตามต้องการครับ

Test Payment method
หลังจากที่เราเพิ่ม Email เข้าไปเรียบร้อยแล้วเวลาที่เรา Test ผ่าน App เราจะเห็นว่า Payment methods จะเป็นสำหรับ Test ทั้งหมดขึ้นมาให้เราเลือก โดยจะมีทั้ง success case และ fail case มาให้
In-app Product
ในส่วนของ In-app product นั้นจะเป็นการซื้อครั้งเดียวแล้วจบก็คือสามารถเลือกได้เลยว่าต้องการเป็น success case หรือ fail case แต่ว่าเนื่องจาก In-app product นั้นจะมี pending purchase ได้ ทางก็ google ก็จะมี payment method สำหรับ case นี้มาให้ด้วยก็คือ Slow test card ครับ ก็จะแบ่งเป็น success case และ fail case เช่นกัน ถ้าเราเรื่อง test ด้วย Slow test card ก็คือ google จะ delay callback purchased status สักพักหนึ่งครับ ถึงจะ callback มา
Subscription Product
ในส่วนของ Subscription product นั้น เราก็จะเห็น Payment method success case และ fail case เช่นเดียวกัน แต่จะไม่เห็น Slow test card ครับ เนื่องจาก Subscription product หลังจากซื้อแล้ว google จำเป็นที่จะต้องใช้ Payment method นั้นในการ Renew ต่อเนอะ
จากเรื่อง Renew เราสามารถ Config SKU ให้เป็นได้แค่ Weekly คือต่ำที่สุด ดังนั้นในกรณี Test จะให้รอผลนานแบบนั้นก็ไม่เหมาะเท่าไหร่ Google ก็เตรียมเรื่องนี้ไวให้เราแล้วเช่นกัน
Cycle period กรณีใช้ Payment method test นั้น cycle จะสั้นกว่ามาก เพื่อให้เราสามารถ retest ใหม่ได้ง่ายๆ ครับตามตารางด้านล่างนี้เลย

ส่วนกรณีเรามี Config SKU ให้มี Grade period หรือสามารถ Pause ได้ ใน Test period ก็จะสั้นขึ้นเพื่อให้ Test ได้เช่นกัน

สรุปเรื่องการ Test
ในส่วนของการ Test Google In-app นั้น ทาง Google ก็คิดมาเผื่อให้เราในส่วนนี้แล้วเช่นกัน ทั้งในส่วนของการ Purchase และในส่วนของ Renew เพื่อให้สามารถ E2E ได้ทั้งระบบนับว่าเป็นเรื่องดีสำหรับ Developer เลยครับ
Reference
Last updated
Was this helpful?